วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

รู้จักการสื่อสารด้วยหัวใจ : เปิดใจลูกน้อย ด้วยแรงจูงใจภายใน

ลำดับที่ 1

"คนส่วนใหญ่รวมถึงเด็กๆ จะเปิดใจเข้าใจผู้อื่น
เมื่อได้ทราบถึงความรู้สึกและความต้องการของอีกฝ่าย"

เมื่อพ่อแม่ต้องการให้ลูกๆ ทำอะไรบางอย่างที่พวกเขาไม่ต้องการทำ 
บ่อยครั้งที่พ่อแม่จะใช้การบังคับ ซึ่งแม้จะได้ผลในขณะนั้น 
แต่การบังคับให้เด็กทำในสิ่งที่เขาไม่อยากทำจะไม่ส่งผลดีทั้งต่อเด็กในระยะสั้น 
และไม่เป็นผลดีต่อครอบครัวในระยะยาว

การให้รางวัลหรือลงโทษส่งผลอย่างไร

มีนา แม่คนหนึ่งได้อ่านบทความของฉัน 
เธอตั้งคำถามซึ่งชี้ให้เห็นถึงการที่พ่อแม่มักอยากใช้อำนาจที่มีเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูกๆ
“ ฉันพยายามใช้วิธี –การต่อรอง- กับลูกชายวัย 2 ขวบมานาน 
โดยใช้วิธีการให้รางวัลและลงโทษ บางทีมันได้ผลดีทีเดียว 
อย่างน้อยฉันก็ทำให้เขาทำตามสิ่งที่ฉันต้องการได้ 
เช่น ให้เขากินข้าวให้หมดจาน 
แต่ฉันยังรู้สึกไม่ค่อยสบายใจนักกับการใช้วิธีการนี้ 
ไม่ทราบว่าวิธีให้รางวัลและลงโทษจะก่อให้เกิดปัญหาบ้างหรือไม่ 
ถ้ามันทำให้เกิดผลตามที่ฉันต้องการได้”

การให้รางวัลหรือลงโทษทำให้เด็กกลัว

เวลาที่ฉันได้ยินพ่อแม่หรือผู้เชี่ยวชาญการดูแลเด็กบอกว่า 
การใช้การลงโทษนั้นได้ผลดี ฉันมักจะสงสัยว่าเขาหมายถึงอะไร 
ฉันเชื่อว่า คำว่า “ผลดี” หมายความว่าเด็กๆ ยอมทำตามที่พ่อแม่ต้องการ 
อย่างน้อยก็ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ทั้งเป้าหมาย (คือการยอมตาม) และวิธีการ (คือรางวัลและการลงโทษ) ต่างมีข้อด้อย 
มันไม่เพียงก่อให้เกิดความกลัว ความรู้สึกผิด ความละอายใจ 
ถูกบังคับ หรืออยากได้รางวัลเท่านั้น 
แต่ยังก่อให้เกิดความโกรธหรือความขัดเคืองใจอีกด้วย 
อีกทั้งวิธีให้รางวัลและลงโทษนี้ ยังเป็นแรงจูงใจที่มาจากภายนอก 
เมื่อใช้ไปแล้วจะทำให้เด็กพึ่งพิงมัน จนเข้าไม่ถึงแรงจูงใจภายใน
ที่อยากจะทำให้ความต้องการของเขาและผู้อื่นได้รับการตอบสนอง



แรงจูงใจ เป็นสิ่งซึ่งควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ อันเกิดจากความต้องการ 
แรงผลักดัน และความปรารถนาที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ 
ซึ่งอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือจากการเรียนรู้ แรงจูงใจเกิดจากสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอก 
แรงจูงใจภายนอกได้แก่ คำตำหนิหรือคำชม การให้รางวัลหรือลงโทษ 
แรงจูงใจภายในคือแรงขับเคลื่อนที่มาจากภายในตัวบุคคล เช่น ความอยากรู้อยากเห็น 
การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม สังคม เป็นต้น

ฉันเชื่อว่าแรงจูงใจภายในที่มีพลังและนำมาซึ่งความสุขที่สุดของมนุษย์คือ 
ความปรารถนาที่จะตอบสนองความต้องการของตัวเราและผู้อื่น 
ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะทำตามแรงจูงใจภายในเช่นนี้ เมื่อเขาสร้างสัมพันธ์กับตัวเอง
และผู้อื่นได้อย่างแท้จริง เมื่อเขารู้ว่าความต้องการของเขาสำคัญสำหรับผู้อื่น 
และเมื่อเขาสัมผัสได้ถึงอิสระในการเลือกที่จะทำอะไรเพื่อผู้อื่น

ให้บทเรียนที่มีค่า

ถ้าเราต้องการให้ลูกๆ ของเราสัมผัสได้ถึงแรงจูงใจภายในที่จะทำสิ่งที่เราขอให้เขาทำ 
เราสามารถแลกเปลี่ยนจุดยืนจากการใช้อำนาจและบังคับด้วยวินัย 
ไปสู่การใส่ใจกับความต้องการในระยะยาวของทุกคน 
การทำเช่นนี้อาจใช้เวลามากขึ้น ณ ตอนนี้ 
เพราะมันหมายความว่าเราจะคิดไปไกลจากปัญหาเฉพาะหน้า 
และระลึกไว้ว่าในภาพกว้างแล้ว อะไรเป็นสิ่งสำคัญที่สุด 
อย่างไรก็ตาม มันก็คุ้มค่าต่อการลงทุน ในระยะยาวแล้ว 
ครอบครัวเราจะสามารถมีความสัมพันธ์ ความไว้ใจ 
ความกลมเกลียวกันได้มากขึ้น เด็กๆ จะสามารถเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตที่ทรงพลังได้
ฉันเชื่อว่าพ่อแม่ส่วนมากคงเห็นว่าเป้าหมายเหล่านี้น่าสนใจ 
และน่าตื่นเต้นมากกว่าแค่อยากให้เด็กๆ ยอมทำตาม

การสื่อสารด้วยหัวใจ ขอเสนอจุดเริ่มต้น 3 ข้อ 
ที่สามารถใช้เพื่อเข้าใจผู้อื่นแทนการให้รางวัลหรือลงโทษ นั่นคือ
1.       การให้ความเข้าใจผู้อื่น
2.        การสื่อสารถึงข้อสังเกต ความรู้สึก ความต้องการ และการขอร้องของเรา
3.       สร้างความสัมพันธ์กับตัวเราด้วยการให้ความเข้าใจตัวเอง


...
พบกับรายละเอียดของแต่ละหัวข้อในข้อเขียนต่อไปนะคะ
...


วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทักทาย

้happy child

พื้นที่สร้างความสุขให้เด็กๆ
พื้นที่เรียนรู้สำหรับครอบครัว


โดยโครงการสรรพสาส์น
สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก
มูลนิธิเด็ก
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...